JUNIOR RECITAL
CHROMATIQUE
Music and Graphic in dialogue
Research / Review
111111111ย้อนปลับไปช่วงประมาณปี 1665 Isaac Newton ได้ฉายเเสงสีขาวผ่านเเก้วปริซึม เเละได้เห็นเเสง ที่กระจายออกมาเป็นสีรุ้ง เขาจำเเนกสีในเเสงสีรุ้งนั้นออกมาเป็น 7 สี เเดง, ส้ม, เหลือง, เขียว, น้ำเงิน, คราม เเละม่วง ไม่ใช่เพราะเขาสามารถเห็นสีที่จำเป็นเพียงเเค่ 7 สี เเต่เป็นเพราะเขาสร้างความเชื่อมโยงในเชิงสัญลักษณ์ระหว่างสีกับดนตรีด้วยการสื่อถึงสีทั้ง 7 สีสื่อในเชิงเปรียบเทียบถึงโน้ตทั้ง 7 ตัวในบรรไดเสียง Diatonic การตั้งชื่อสีให้สัมพันธ์กับโน้ตทั้ง 7 ตัว “เป็นสิ่งที่เเปลกประหลาดเเละน่าสนใจสำหรับเขาที่ทำเช่นนั้น” Peter Pesic, นักฟิสิกข์, นักเปียโน, เเละผู้เขียนหนังสือ Music and the Making of Modern Science กล่าว “มันไม่มีการให้เหตุผลทางการทดลองที่เเน่นอน มันเป็นเพียงเเค่การสื่อ ถึงบางสิ่งที่เขากำหนด ให้กับสเปกตรัมของสีด้วยการเปรียบเทียบกับดนตรี”

111111111ความเชื่อมโยงกันได้เเละเรื่องราวระหว่างดนตรีเเละสีหรือศิลปะได้ถูกค้นพบในภายหลังโดยศิลปินอีกหลายคนโดยเฉพาะในช่วงยุคศตวรรษที่ 20 เช่นในงานศิลปะของ Wassily Kandinsky ศิลปินเเละนักทฤษฎีศิลปะชาวรัสเซีย สำหรับเขาเเล้ว ดนตรีเเละสีเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เเละผูกมัดเข้าด้วยกัน เขาเชื่อมโยงโน้ตเเต่ละตัวไว้ ด้วยเฉดสีที่เเน่นอน “the sound of colors is so definite that it would be hard to find anyone who would express bright yellow with bass notes or dark lake with treble.” เขากล่าว มันเริ่มต้นมาจากเมื่อตอนที่เขาได้มีความประทับใจต่อผลงาน Lohengrin ของ Wagner เเรงขับเคลื่อนทางอารมณ์ที่เปี่ยมล้นต่อดนตรีกระตุ้นให้เขามีการตอบสนองต่อภาพที่เปลี่ยนไปเเละทำให้เขาตัดสินใจละทิ้งอาชีพนักกฎหมายเเละสนใจงานทางด้านศิลปะในวัย 30 ปี เขาพูดเอาไว้ว่านั่นคือประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตของ เขา “I saw all my colors in my mind, they were all before my eyes. Wild, almost delirious, lines were being drawn right in front of me.”

Composition VI, 1913
1111111111จริงๆ เเล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาคือปรากฎการณ์ทางระบบประสาทอย่างหนึ่งที่เรียกว่าอาการ Synesthesia หรือประสบการณ์การรับรู้ข้ามช่องสัมผัส เป็นลักษณะของอาการที่หาได้ยากคือประสาทการรับรู้สิ่งหนึ่งไปกระตุ้นอีกสิ่งหนึ่ง เช่น มองเห็นภาพหรือสีเมื่อได้ยินเสียง หรือได้กลิ่นบางอย่างเมื่อได้ยินเสียง อย่างในกรณีของ Kandinsky คือการเห็นสีเมื่อได้ยินเสียงดนตรี เเละได้ยินเสียงดนตรีเมื่อวาดภาพ
1111111111เสียงดนตรีเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนางาน Abstract Art ของ Kandinsky มากๆ อีกคนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อเขามากๆ คือคอมโพสเซอร์ชาวเวียนนา Arnold Schönberg ผู้ซึ่งละทิ้งระบบศูนย์เสียงทางดนตรีในงานหลายๆ งานของเขา ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันกับงานของ Kandinsky ที่ปฏิเสธการใช้รูปทรงที่เรารู้จัก เขาใช้เเละจัดวางสี เส้น รูปทรงเเละพื้นผิวเพื่อสร้างจังหวะเเละน้ำหนักเพื่อสร้างประสบการณ์ทางการมองเห็น ที่ส่งผลการตอบสนองทางอารมณ์ Kandinsky จึงตั้งชื่อให้ผลงานหลายๆชิ้นของเขาเป็นชื่อทางดนตรี เช่น Composition หรือ Improvisation
“One day I must be able to improvise freely on the keyboard of colors: the row of watercolors in my paintbox”
1111111111Paul Klee คือศิลปินผู้มีเเนวคิดที่เกี่ยวกับดนตรีเเละศิลปะที่น่าสนใจอีกคนหนึ่ง เขาเป็นชาวสวิสผู้เกิดในครอบครัวนักดนตรีเเละมีพ่อเป็นครูสอนดนตรีชาวเยอรมัน
เขาเรียนไวโอลินตั้งเเต่ยังเด็ก เเละเมื่อโตขึ้นก็เป็นสมาชิกของวง Berne Municipal Orchestra เขาพัฒนาความชื่นชอบทางด้านดนตรีที่มีต่อ J.S.Bach เเละ W.A.Mozart เเละเเสดงให้เห็นถึงจุดประกายในอาชีพนักดนตรี ปี 1898 เขาเข้าศึกษาด้านศิลปะที่มิวนิก
“Color and I are one. I am a painter”
1111111111ในปี 1920 Klee ได้รับการเเต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะ Bauhaus เเละที่นี่เอง ที่ๆ เเวดล้อมไปด้วยงานสถาปัตย์ ศิลปะ การเเสดงในเเบบ avant-garde คือที่ๆทำให้เขาเริ่มสนใจในการนำดนตรีคลาสสิคเเละงานวาดภาพมารวมกัน ในช่วงเเรกเขาพยายามใช้วิธีในเชิงโครงสร้างมาสร้างงานที่เป็นส่วนผสมระหว่างศิลปะกับดนตรี ในภาพ In the Style of Bach เป็นภาพที่
ให้ความรู้สึกเหมือนโน้ตดนตรี ด้วยเส้นตรงที่มีนัยยะ, ต้นไม้, เครื่องหมายเเละสัญลักษณ์ที่ใช้เเทนตัวหยุดเเละเฟอร์มาต้าร์ จังหวะของภาพ ที่ปรากฏ ก็กลายมาเป็นจังหวะทางดนตรี คล้ายคลึงกับโครงสร้างเเบบ Polyphonic ใน Fugues ของ Bach

In the Style of Bach

Cooling in the Garden of the Torrid Zone
1111111111บันทึกการสอนของ Klee หลายอันตอนที่เขาสอนนักเรียนที่ Bauhaus ประกอบไปด้วยการพูดถึงการบันทึกโน้ตดนตรีเเละคำอธิบายถึงหลักปฏิบัติทางคณิตศาสตร์ต่อรูปเเบบโน้ตดนตรี ภาพ Cooling in the Garden of the Torrid Zone ของเขาคือตัวอย่างของภาพที่เเสดงให้เห็นถึงจังหวะเเละโครงสร้างทางดนตรีที่ถูกเเบ่งอยู่บนเส้นเเนวขวางที่ลักษณะเหมือนบรรทัด 5 เส้นบนโน้ตดนตรี พร้อมด้วยสัญลักษณ์ที่จำลององค์ประกอบทางดนตรีที่จำลองภาพของโน้ตในบรรทัด 5 เส้น เหมือนกับ Fugal Structure ใน E-minor Fugues by J.S.Bach ที่ซึ่ง Klee ร่างโน้ตเอาไว้ในสมุดบันทึกของเขา มันมีความสมดุลระหว่างองค์ประกอบ ที่ปกติกับไม่ปกติที่สร้าง Tension เเละในทางกลับกัน โครงสร้างที่ซ้ำกันไปมาก็สร้างจังหวะในงานด้วย
1111111111จะสังเกตุได้ว่าเเค่ 3 คนทั้งอยู่ต่างยุคเเละยุคเดียวกันก็มีมุมมองเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในดนตรีเเละศิลปะที่ไม่เหมือนกัน Newton มองว่าสีเเละดนตรีมีความเกี่ยวข้องกันในเชิงเปรียบเทียบ, Kandinsky มองเห็นสีเมื่อได้ยินดนตรีเเละถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะ, Klee พยายามตีความเเละนำศิลปะกับดนตรีมารวมเข้าด้วยกัน ความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์กันระหว่างดนตรีเเละศิลปะอันไม่มีสิ้นสุดจึงได้นำเราเข้ามาสู่
Junior Recital นี้
https://www.the-scientist.com/foundations/newtons-color-theory-ca-1665-31931
https://denverartmuseum.org/article/staff-blogs/wassily-kandinskys-symphony-colors
https://interlude.hk/music-art-schoenberg-kandinsky/
https://interlude.hk/paul-klee-painting-music/
https://mymodernmet.com/paul-klee-art-and-music/
Reference