top of page

Repertoire

The quest that we must conquer!

สิ่งที่เราต้องพิชิตในรีไซทอลนี้

Marchenbilder Op.113

Robert Schumann

หรืออีกชื่อหนึ่ง Fairy Tale Pictures, ประพันธ์ขึ้นโดย Robert Schumann ในปีค.ศ.1851 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่

Schumann กำลังเริ่มประสบกับปัญหาภาวะจิตใจเเละอาการป่วยทางจิต บทเพลงชิ้นนี้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่ออุทิศให้

Wilhelm Joeseph von Wasielewski ผู้เป็น Concert master ที่ Dusseldofg Orchestra เเละเป็น

บทประพันธ์สำหรับเดี่ยววิโอล่าชิ้นเดียวที่ Schumann ประพันธ์ให้วิโอล่า 

 

บทเพลงนี้ถูกประพันธ์ขึ้นด้วยกันทั้งหมด 4 ท่อนประกอบไปด้วย Nicht schnell (ไม่เร็ว), Lebhaft (สดใสร่าเริง),

Rasch (รีบ) เเละ Langsam and mit malancholischem Ausdruck (ช้าด้วยอารมย์เศร้าโศก) อย่างที่ชื่อ

ของตัวบทเพลงที่ได้ถูกกำหนดไว้ “Fairy Tale Pictures” นั่นหมายถึงการที่บทเพลงนี้เป็นการประกอบกันของ

Character pieces ทั้ง 4 ท่อนที่คาดกันว่าตัว Schumann เองน่าจะได้รับเเรงบัลดาลใจมาจากบทกวีหรือนิทาน

อันโด่งดังเเละเป็นเอกลักษณ์อย่าง Rapunzel, Rumpletstilskin เเละ Sleeping Beauty

 

บทเพลงเริ่มต้นด้วยทำนองที่นุ่มนวลเเละชวนฉงนวงวัยโดยเสียงกลางที่ลุ่มลึกของวิโอล่า ก่อนจะค่อยๆเคลื่อนเเละส่งต่อกันไปมาระหว่างเปียโนเเละวิโอล่าหลายครั้งด้วยการเปลี่ยนไปของรูปทำนองเเละไลน์ประสานหลากหลายรูปเเบบ ในท่อนที่ 2 นำเสนอออกมาด้วยทำนองอันกระฉับกระเฉงที่มีลักษณะของรูปเเบบจังหวะที่เหมือนการควบม้า อยู่ใน Standard Rondo form (A B A C A etc.) โดยลักษณะของทำนองในช่วงเเรกถูกนำกลับมาใช้หลายต่อหลายครั้งในท่อน ในท่อนที่ 3 “Rasch” หรือ “รวดเร็ว” เป็นการระบุจังหวะของท่อนนี้ที่สามารถสื่อถึงอารมย์ของท่อนนี้ได้เป็นอย่างดี เริ่มต้นด้วย Triplet sixteenth notes ที่รวดเร็วบนวิโอล่าโดยมี Accompaniment ที่ดูหม่นหมองเเละเปี่ยมไปด้วยอารมย์จากเปียโน ก่อนจะสลับทำนองกันเเละกลับมาอยู่บนวิโอล่าอีกครั้ง เเละสุดท้าย “Langsam and mit malancholischem Ausdruck” หรือ “เชื่องช้าด้วยอารมย์เศร้าโศก” อธิบายถึงอารมย์ที่หดหู่ของท่อนนี้ก่อนจะค่อยๆจบบทเพลงชิ้นนี้ลงอย่างเงียบๆ

Robert-schumann_edited.jpg

Romanze for viola Op.85

Max Bruch

Caprice บทนี้เป็นบทเพลงบทเเรกในชุดเพลง 41 Caprices for Viola โดย Bartolomeo Campangoli 

ตอนเริ่มต้นของบทเพลงจะเริ่มต้นด้วยจังหวะที่ช้า เป็นอารมย์ที่เต็มไปด้วยความไตร่ตรอง ก่อนจะตามมาด้วยช่วงครึ่งหนังที่เป็น Counterpart ในอัตราจังหวะ Allegro

Max_bruch_edited.jpg

Caprice No.1 from 41 caprices for Viola op.22

Bartolomeo Campangoli

2f614b6b4d67873ae2241d6b35b948d4.jpg

Romanze เป็นบทเพลงที่มีลักษณะเป็น Rondo Form ที่ช้าหรือเป็น Small charecter piece ถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงท้ายของชีวิตของ Bruch เป็นช่วงที่เขาเริ่มเห็นถึงศักยภาพเเละความน่าสนใจของวิโอล่า ซึ่งนอกจาก Eight Pieces for Clarinet, Viola and Piano Op.83 เเละ Double Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra เเล้ว Romanze ก็คืออีก 1 บทเพลงที่ Bruch ตั้งใจเเต่งให้เครื่องวิโอล่า งานชิ้นนี้ถูกอุทิศให้เเด่นักวิโอล่าชาวฝรั่งเศส Maurice Vieux ผู้เป็น Principal Violist อยู่ที่ Paris Opéra เเละยังเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Conservatoire de Paris 

 

การเเสดงรอบปฐมทัศน์ ถึงบทประพันธ์นี้จะถูกเขียนอุทศให้ Vieux เเต่มันถูกเเสดงครั้งเเรกโดยนักไวโอลินชาวอเมริกา Willy Hess ผู้เป็นเพื่อนของ Bruch บทประพันธ์นี้ถึงจะกลายเป็น Standard Repertoire เเละเป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักวิโอล่ายุคปัจจุบัน เเต่มันได้รับความสนใจน้อยมากๆจากนักวิโอล่าที่สำคัญๆในช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 20 มีเพียงเเค่ Commercial recording ในปี 1973 เท่านั้น

bottom of page